ความเห็นจากนักทัศนมาตรของเราคือ ค่าที่ได้ สามารถใช้ “อ้างอิงได้ ” แต่ยังไม่ควรใช้ค่านั้น เพื่อนำไปตัดแว่นสายตาทันที เพราะอะไร ? เราควรทำความเข้าใจ “คอนเซ็ปท์” ของเจ้าเครื่องนี้ก่อน โดยทั่วไป จะอาศัยการยิงแสง อินฟาเรด เข้าไปในตาแล้ววิเคราะห์ค่าสายตา แล้วก็จะได้ค่าสายตาออกมาจากรูปแบบการสะท้อนของแสงซึ่งค่าที่ได้จะคลาดเคลื่อนได้ ถ้าผู้ถูกวัดเพ่งสายตา โดยเฉพาะในเด็ก หรือแม้แต่การที่ผู้ถูกวัดไม่ได้มองมายังเป้า ก็ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้ค่านั้นออกมาคลาดเคลื่อนได้ทั้งสิ้น ภายหลังจากวัดกับเครื่องนี้แล้ว ควรวัดสายตาด้วย Retinoscope และ Subjective Refraction ตามลำดับ เพื่อกับการ คอนเฟิร์ม ค่าสายตา และลองแว่น trial frame ก่อนตัดแว่นทุกครั้ง ดังนั้น เครื่องวัดคอมพิวเตอร์ไม่ใช่ทุกอย่างของการวัดสายตา แต่เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้การวัดสายตานั้นสมบูรณ์มากขึ้น เพราะเหตุนี้การวัดสายตาควรอยู่ภายใต้การดูแลของนักทัศนมาตร ที่มีใบประกอบโรคศิลป์ จะทำให้มั่นใจได้ว่าแว่นสายตานั้นอยู่ในมาตรฐานที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง สรุปข้อดี/ข้อเสีย ของ Auto Refractometer1. สะดวกและรวดเร็ว2. ผู้วัดไม่จำเป็นต้องมีความรู้หรือประสบการณ์มาก3. ใช้เป็นค่าอ้างอิง สำหรับการหาค่าสายตาโดย Retinoscope4. สามารถหา ค่าสายตาเอียง กับ องศา ได้ค่อนข้างแม่นยำในระดับนึง5. […]