เจาะลึก การตัดแว่นสายตา มาตรฐานสากล กับนักทัศนมาตรที่ร้านแว่นตา OPTICLAND
สำหรับใครที่กำลังหาร้านแว่นตา เพื่อตรวจวัดสายตาและตัดแว่นสายตา แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกร้านแบบไหนดี ร้านแว่นตา OPTICLAND ร้านแว่นตาที่มีนักทัศนมาตร ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการดูแลดวงตาของคุณ มาเจาะลึกข้อควรรู้ เกี่ยวกับการตัดแว่นสายตา เพื่อการเตรียมตัวที่ดี และได้แว่นตาที่เหมาะสมกับคุณได้จากบทความนี้
ข้อควรรู้ก่อนตัดแว่นสายตา
การเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการวัดสายตา
ก่อนมาวัดสายตาควรมีการเตรียมตัวก่อน แล้วจะเตรียมตัวอย่างไร? การที่นักทัศนมาตรจะหาค่าสายตาได้อย่างถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด ประกอบไปด้วยหลายปัจจัยและหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญมาก ๆ ก็คือ ความพร้อมของผู้ถูกวัด เราจึงสรุปมาเป็นหัวข้อง่าย ๆ ในการเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการวัดสายตาได้ดังนี้
- ควรนอนอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
เพื่อให้ดวงตาและกล้ามเนื้อตาพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ เพราะอาการตาล้าจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ จะมีผลทำให้ผลการตรวจคลาดเคลื่อนได้
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เลี่ยงการดื่มแอลดอฮอล์ในวันที่ได้รับการตรวจตา หรือ 1 วันก่อนหน้า เพื่อให้ดวงตาและกล้ามเนื้อตาพักผ่อนได้อย่างเต็มที่
- ถอดคอนแทคเลนส์
ถ้าใส่คอนแทคเลนส์เป็นประจำ ในวันที่ได้รับการตรวจตา ให้ถอดคอนแทคเลนส์ในวันดังกล่าว หรือ ถอดคอนแทคเลนส์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนการตรวจสายตา เพื่อให้กระจกตาคืนรูป อยู่ในสภาวะปกติมากที่สุด
- นำแว่นสายตาอันเดิม (ถ้ามี) มาด้วย
การทราบค่าสายตาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน จะช่วยให้นักทัศนมาตร สามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาในการมองเห็น ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- โรคประจำตัว
ถ้ามีโรคประจำตัว หรือมียาที่ทานประจำ ควรจะแจ้งให้นักทัศนมาตรทราบ เพราะโรคทางตา หรือ ยาบางตัว มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าสายตา
พฤติกรรมการใช้สายตาในชีวิตประจำวัน
พฤติกรรมการใช้สายตาเป็นระยะเวลานานติดต่อกันในระยะยาว อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคทางสายตา ดังนั้นจึงควรรู้ข้อควรหลีกเลี่ยงต่าง ๆ เพื่อไม่ให้สุขภาพสายตาเสีย ดังนี้
- แสงสว่าง ควรหลีกเลี่ยงการอ่านหนังสือ หรือใช้อุปกรณ์ดิจิตอลในที่มืดหรือมีแสงสว่างไม่เพียงพอ เพราะจะทำให้ต้องใช้กำลังเพ่งมากกว่าปกติ ทำให้มีอาการตาล้าได้
- การออกกำลังและการพักผ่อน สุขภาพร่างกายก็สำคัญควรพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่ดวงตาดีขึ้น
- การรับประทานอาหาร การเลือกรับประทานผลไม้ที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระอย่างสม่ำเสมอ เช่น ผัก และผลไม้ต่าง ๆ เช่น ผักบุ้ง แครอท ตำลึง ผักคะน้า ฟักทอง มะม่วงสุก มะละกอ รวมถึงในผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ต่าง ๆ ช่วยคลายความเหนื่อยล้าของดวงตา ช่วยเรื่องการมองเห็นในเวลากลางคืน
- ควรตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ เพื่อสายตาที่ดีที่สุด ทำงานได้สะดวกสบาย และมีประสิทธิภาพดีขึ้น โดยเฉพาะในรายที่มีปัญหาการมองเห็น ตาแห้ง ปวดตาอยู่บ่อยครั้ง หรือเคืองตา ควรรีบพบจักษุแพทย์เพื่อดูแลรักษาสุขภาพดวงตาอยู่เสมอ
ตรวจวัดสายตาโดยผู้เชี่ยวชาญ นักทัศนมาตร
นักทัศนมาตรคือใคร? ทำไมต้องวัดสายตากับนักทัศนมาตร?
- นักทัศนมาตร (Optometrist) คือ ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจวัดสายตา รวมถึงระบบการมองเห็นที่ผิดปกติ ที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อตา สามารถตรวจเช็คสุขภาพตาเบื้องต้นได้ โดยใช้เลนส์และคอนแทคเลนส์ในการแก้ไขปัญหาสายตา
- นักทัศนมาตร สามารถตรวจหาค่าสายตาอย่างละเอียดได้ และสามารถจำแนกปัญหาสายตาที่เกิดขึ้นได้ว่า มีสาเหตุของปัญหาสายตามาจากอะไร จึงทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด และให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลในการแก้ไขปัญหาสายตา
การเลือกกรอบแว่นให้เหมาะกับใบหน้า
- ใบหน้ากลม ควรเลือกแว่นที่มีรูปทรงเหลี่ยมผืนผ้า หรือจัตุรัส เพื่อให้เห็นใบหน้าคมชัดมากขึ้น และไม่ควรเลือกแว่นทรงกลม หรือแว่นไร้ขอบเพราะจะทำให้หน้าดูกลมมากยิ่งขึ้น
- ใบหน้าเหลี่ยม เนื่องจากใบหน้าดูเท่า ๆ กันในทุกด้าน ไม่ควรเลือกแว่นทรงเหลี่ยม หรือแว่นที่มีขอบหนา ๆ ให้เลือกแว่นตาทรงกลม หรือทรงที่มีขอบมนมากขึ้น เพื่อไม่ให้หน้าดูเหลี่ยมมากเกินไป
- ใบหน้ารูปไข่ สามารถเลือกใส่แว่นได้หลายแบบและหลายรูปทรง แต่ควรหลีกเลี่ยงแว่นที่เล็กเกินไปหรือใหญ่เกินกว่าใบหน้า
- ใบหน้ารูปหัวใจ หรือทรงสามเหลี่ยมคว่ำ เนื่องจากเป็นคนที่มีหน้าผากกว้าง และคางเรียวยาว ควรเลือกแว่นที่โค้งละมุนมากขึ้น หรือแว่นที่ไร้ขอบ เพื่อลดความเด่นของหน้าด้านบน
- ใบหน้ารูปเพชร หรือในคนที่มีลักษณะโหนกแก้มสูง ช่วงกรามและตาเล็ก ควรเลือกกรอบแว่นที่ไม่มีขอบ หรือแว่นที่มีรูปทรงไข่ เพื่อไม่ให้เน้นใบหน้าส่วนโหนกแก้มมากเกินไป
- ใบหน้ายาว ควรเลือกแว่นที่เป็นทรงกลม ไม่ควรเลือกแว่นทรงไข่ หรือทรงหยดน้ำ เพราะจะทำให้หน้าดูยาวมากขึ้น
การเลือกเลนส์สายตาให้เหมาะสม
- ในคนที่ค่าสายตาสูง ๆ หรือมีปัญหาค่าสายตาสองข้างต่างกันมาก ๆ ควรเลือกเลนส์ที่ย่อบาง เพื่อลดความหนาและน้ำหนักของเลนส์
- ในคนที่เริ่มมีปัญหาสายตายาวตามอายุ จะมีเลนส์โปรเกรสซีฟ เลนส์สำหรับทำงานในออฟฟิศ หรือแยกแว่นตาสำหรับอ่านหนังสืออย่างเดียว ควรเลือกเลนส์ให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละบุคคล
- ในคนที่เลือกกรอบแว่นขนาดใหญ่ อาจจะต้องสั่งเลนส์แล็ปเพื่อเพิ่มขนาดของเลนส์ หรือกรอบแว่นเซาะร่อง หรือแบบไร้กรอบ ก็ควรเลือกชนิดเลนส์ที่มีความเหนียวมากขึ้น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงในการประกอบเลนส์ ป้องกันการแตกหักง่าย
การรับประกันการใช้งาน
- รับประกันค่าสายตา ในกรณีใช้งานไม่ได้ 3 เดือน
- รับประกันคุณภาพสินค้า กรอบแว่น 1-3 ปี , เลนส์สายตา 2 ปี เป็นการรับประกันคุณภาพสินค้าเสื่อมสภาพในกรณีมีปัญหาจากกระบวนการผลิต
Optometrists Profile
คุณยลธิดา ลีลา
ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจวัดสายตา รวมถึงระบบการมองเห็นที่ผิดปกติ ที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อตา สามารถตรวจเช็คสุขภาพตาเบื้องต้นได้ โดยใช้เลนส์และคอนแทคเลนส์ในการแก้ไขปัญหาสายตา
- ประวัติการศึกษาและการทำงาน
จบการศึกษาจากคณะ ทัศนมาตรศาสตร์ และมีประสบการณ์ทำงาน/ฝึกงาน/ออกหน่วย ดังนี้
- งานพาร์ทไทม์ ที่ร้านแว่นตา mawin visions
- การฝึกงาน ที่โรงพยาบาลตำรวจ และร้านแว่นตา The vision optic และ Mawin visions
- ออกหน่วยตรวจตา ที่โรงเรียนบ้านเกาะ
ขั้นตอนการตรวจสายตา
- ซักประวัติลูกค้า ถึงปัญหาสายตาในปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเลือกชนิดเลนส์ และจ่ายค่าสายตาที่เหมาะสม
- การวัดสายตา แบบ Objective Refraction จะประกอบไปด้วย การวัดสายตาด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่จะสามารถประเมินค่าสายตาเบื้องต้น และ ความโค้งกระจกตาได้ และการใช้ Retinoscope ที่สามารถประเมินค่าสายตาได้แม่นยำกว่า
- การวัดสายตา แบบ Subjective Refraction โดยใช้ Phoropter VR-800 ที่มีเพียงไม่กี่เครื่องในประเทศไทย ในการวัดสายตาอย่างละเอียด โดยการถามตอบกับผู้ถูกวัด เพื่อเค้นเอาค่าสายตาที่ถูกต้องที่สุดออกมา
- วัดการทำงานร่วมกันของสองตา และการทำงานของกล้ามเนื้อตา
- จ่ายค่าสายตา และให้ลูกค้าทดลองใช้งาน
วิธีอ่านค่าสายตาด้วยตัวเอง
ในใบ prescription หรือใบค่าสายตา โดยส่วนใหญ่จะมีหลัก ๆ คือ
- OD , R คือ ตาขวา
- OS , L คือ ตาซ้าย
- Sph (spherical) คือ ค่าสายตาสั้น (-) หรือค่าสายตายาว (+)
- Cyl (Astigmatism) คือ ค่าสายตาเอียง
- Axis คือ องศาของค่าสายตาเอียง
- ADD คือ ค่าสายตายาวตามอายุ
ตัวอย่างเช่น
Sph | Cyl | Axis | ADD | |
OD , R | -2.00 | -1.00 | 90 | +2.25 |
OS , L | -1.50 | -1.25 | 95 | +2.25 |
สายตาสั้น ยาว เอียง ต่างกันอย่างไร?
- สายตาสั้น (Myopia) คือ สภาวะที่แสงตกก่อนถึงจอประสาทตา หรือตกก่อนถึงจอรับภาพ เกิดจากการที่กระบอกตายาวมีความยาวมากกว่าปกติ จึงทำให้มองทีระยะใกล้สามารถมองเห็นได้ แต่เมื่อมองที่ระยะไกล ๆ ภาพจะไม่ชัดเจน
- สายตายาว (Hyperopia) สายตายาวแต่กำเนิด เกิดจากการที่กระบอกตาสั้นมากกว่าปกติ จึงทำให้แสงที่เข้าสู่ดวงตา มีการหักเหแสงน้อยลง แล้วไปตกหลังจอประสาทตา หรือจุดรับภาพ ทำให้มองเห็นวัตถุที่อยู่ในระยะไกลและใกล้ไม่คมชัด
- สายตายาวตามอายุ (Presbyopia) มักเกิดในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป เกิดจากการที่เลนส์ในตาเริ่มขุ่น ความยืดหยุ่นน้อยลง กล้ามเนื้อตาเสื่อมสภาพลง ส่งผลให้มองวัตถุในระยะใกล้ ๆ ลำบากมากขึ้น
- สายตาเอียง (Astigmatism) เป็นความผิดปกติของรูปร่างและความโค้งของกระจกตา หรือ เลนส์ตา มีลักษณะคล้ายลูกรักบี้ ที่มีความโค้งด้านหนึ่งมากกว่าอีกด้านหนึ่ง เมื่อแสงผ่านเข้าสู่ดวงตา ทำให้แสงตกกระทบมีมากกว่าหนึ่งจุด บางส่วนไม่ได้ตกลงบนจอประสาทตา ทำให้ภาพที่ได้ไม่คอมชัดทั้งที่ระยะใกล้และระยะไกล อาจเกิดเป็นเงาซ้อน หรือภาพซ้อนได้
ชนิดของเลนส์แว่น
- เลนส์ชั้นเดียว single lens จะได้มุมมองภาพที่กว้าง ปรับตัวได้ง่าย แต่ในคนที่มีสายตายาวตามอายุหากใช้เลนส์ชั้นเดียวจะคมชัดแค่ระยะเดียว ความยืดหยุ่นของระยะลดน้อยลง
- เลนส์สองชั้น หรือ เลนส์ที่มีรูปถ้วยด้านล่างของเลนส์ ใช้สำหรับคนที่มีสายตายาวตามอายุ เพื่อมองไกลและมองใกล้ในแว่นตัวเดียว
- เลนส์โปรเกรสซีฟ หรือเลนส์ใช้มองหลายระยะแบบไร้รอยต่อ สามารถใช้มองได้ทั้งไกลและใกล้ เปลี่ยนโฟกัสได้สมูทมากขึ้น
- ออฟฟิศเลนส์ หรือ เลนส์ที่ใช้สำหรับทำคอมพิวเตอร์และทำงานในออฟฟิศ เป็นเลนส์หลายระยะแบบไร้รอยต่อ สามารถมองได้ไกลแค่ในระยะคอมพิวเตอร์หรือระยะห้องประชุม
กรอบแว่นสำคัญต่อค่าสายตาอย่างไร ?
- ในเลนส์ชั้นเดียวคนที่มีสายตาสูง ๆ ไม่ควรเลือกกรอบแว่นที่มีขนาดกว้างและใหญ่มาก เนื่องจากจุดที่ชัดที่สุดจะอยู่ตรง center ของเลนส์ หากเลือกกรอบใหญ่ จะทำให้ได้รับโซนที่เป็นภาพบิดเบือนค่อนข้างเยอะ และจะได้รับความหนาและน้ำหนักของเลนส์มาก ทำให้ปรับตัวยาก ไม่ค่อยสบายตาเท่ากรอบแว่นที่มีขนาดเล็กลงมา
- ในคนที่ทำแว่นโปรเกรสซีฟ หรือ เลนส์ที่มีการไล่ค่าสายตา ไม่ควรเลือกกรอบแว่นที่ความสูงบน-ล่างน้อยมาก หรือขนาดกรอบด้านข้างกว้างมาก เพราะจะทำให้โซนอ่านหนังสือแคบลง และทำให้เลนส์ถูกบีบอัดค่าสายตามากขึ้น ภาพที่ได้รับก็ยิ่งบิดเบือนมากขึ้นด้วย
แนะนำ ร้าน ตัดแว่นสายตา
ร้านแว่นตา Opticland หรือร้านนครแว่น (ชื่อเดิม) ซึ่งเปิดบริการมามากกว่า 40 ปี สาขาแรกคือสาขายศเส เป็นห้องแถวเล็ก ๆ ริมถนนบำรุงเมือง ซึ่งผู้ที่ริเริ่มธุรกิจแว่นตาของครอบครัว ก็คือคุณซวงย้ง แซ่แต้ โดยร้านแว่นตาสมัยก่อนจะทำทั้งนาฬิกาและแว่นตา ซึ่งคุณซวงย้ง จัดได้ว่า เป็นสารพัดช่างคนหนึ่งในวงการ ในด้านงานฝีมือและความประณีตในการทำแว่นและนาฬิกา โดยเฉพาะการทำแว่นตาในสมัยนั้น ต้องอาศัยทักษะทางช่างค่อนข้างสูง ต้องวาดแบบ ตัดบล็อก และฝนเลนส์ด้วยมือทั้งหมด ไม่มีเครื่องฝนเลนส์แบบอัตโนมัติเหมือนในปัจจุบัน
ในช่วงริเริ่มธุรกิจ คุณซวงย้งได้มีโอกาสส่งลูกชาย คือ คุณสันติ สุทธิเดชานัย ไปอบรมคอร์ส Mini-Optometry กับบริษัทนำศิลป์ไทยที่ประเทศฟิลิปปินส์เมื่อ 1983 ซึ่งถือเป็นการเปิดโลกทัศน์วิชาการด้านสายตาให้กับร้านในตอนนั้น
หลังจากย้ายร้านมาอยู่ที่สุขุมวิท 29 ออพติกแลนด์ ได้เริ่มสร้างชื่อเสียงด้วยการบอกต่อความประทับใจผ่านปากเปล่า ในคุณภาพและความพึงพอใจที่ได้รับจากการตัดแว่นมีมากกว่าแค่ความชัด แต่ยังแนะนำเลนส์ ที่มอบความสบายสูงที่สุด โดยเฉพาะแว่นตาโปรเกรซซีพ หรือแว่นสายตาสำหรับผู้ที่มีอายุ ที่ต้องใช้ความแม่นยำที่สูง รายละเอียดที่ซับซ้อน และต้องใช้ความพิถีพิถันในการตัดประกอบที่ค่อนข้างสูง อีกทั้งยังแนะนำกรอบแว่นคุณภาพดี ที่เหมาะกับบุคลิกและไลฟ์สไตล์ของลูกค้าอีกด้วย
Youtube วีดีโอแนะนำร้าน
สงสัยกันไหมว่า ร้านแว่นตา Opticland มีความแตกต่างจากร้านแว่นตาที่อื่นอย่างไร? แล้วทำไมเราต้องมาตัดแว่นกับร้านนี้ รับชมวีดิโอเพิ่มเติมคลายข้อสงสัยได้ที่นี่
รีวิวจากลูกค้า
รวมรีวิวลูกค้า การันตีคุณภาพ มีผู้ใช้บริการที่ประทับใจร้านตัดแว่นสายตา Opticland มากมาย ทั้งลูกค้าดาราและลูกค้าทั่วไป